ภาพรวมตลาดพื้นที่ให้เช่าค้าปลีกรายไตรมาส: ไตรมาสที่ 1 ปี 2567

ภาพรวมตลาดพื้นที่ให้เช่าค้าปลีกในสี่ตลาดสำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม และประเทศไทย

Singapore
Malaysia
Thailand
Vietnam
Back To Top
การวิเคราะห์ตลาดระดับภูมิภาค

สภาพแวดล้อมค้าปลีกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีแนวโน้มเติบโตอย่างแข็งแกร่งในปี2567 โดยได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างไรก็ตาม ผู้ค้าปลีกต้องเผชิญกับความท้าทายอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่สูงขึ้นซึ่งได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมระดับโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ในบริบทอย่างนี้การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับความผิดพลาดที่นำมาซึ่งค่าใช้จ่ายสูง

ข้อมูลเชิงลึกจากการวิเคราะห์แนวโน้มอุปสงค์และอุปทาน:
  • ตลาดทั้งสี่แห่งมีความเสียดทานที่เพิ่มขึ้นโดยเวียดนามเป็นประเทศที่มีการเพิ่มขึ้นสูงสุด (40.1% เดือนต่อเดือน)และสิงคโปร์เพิ่มขึ้นน้อยที่สุดที่ 4.5%
  • ค่าความเสียดทานที่สังเกตุเห็นได้ในมาเลเซีย     เวียดนาม และประเทศไทยในเดือนมีนาคม ดูดีขึ้นเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน ในขณะที่การฟื้นตัวของความเสียดทานในสิงคโปร์ในเดือนมีนาคมเกิดขึ้นหลังจากที่มีการลดลงของความเสียดทานต่อเนื่องถึงเจ็ดเดือน
  • ดัชนีความต้องการทรัพย์สินเช่าเพื่อค้าปลีกเพิ่มขึ้นสำหรับตลาดทั้งสี่แห่ง     สิงคโปร์ ประเทศไทย และเวียดนามมีการเติบโตของความต้องการเป็นเลขสองหลัก     ในขณะที่มาเลเซียเห็นการเพิ่มขึ้นที่น้อยกว่าเพียง 5.8%
  • อุปทานของรายการอสังหาเพื่อเช่าในมาเลเซีย     สิงคโปร์ และประเทศไทยเพิ่มขึ้นในเดือนมีนาคม 2567 แต่อุปทานในเวียดนามลดลงเป็นเดือนที่สองติดต่อกันที่     23.3%

แรงเสียดทานของตลาด: ตัวชี้วัดสำคัญสำหรับการตัดสินใจทางธุรกิจ

แรงเสียดทานในตลาด ซึ่งวัดโดยอัตราส่วนระหว่างอุปสงค์ต่ออุปทาน บ่งชี้ถึงช่องว่างระหว่างอุปสงค์และอุปทานในตลาดอสังหาริมทรัพย์เพื่อการค้าปลีก ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผู้ค้าปลีก, เจ้าของห้างสรรพสินค้า, และนักลงทุน เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราการเช่าพื้นที่, อัตราค่าเช่า, การเติบโต, และความเสี่ยง ด้วยการประเมินตัวชี้วัดเหล่านี้จากดัชนีเฉพาะของเรา จะทำให้ธุรกิจของท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกเพื่อการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์และความยั่งยืน เพื่อความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้:มาเลเซียสิงคโปร์ ประเทศไทย และ เวียดนาม
ภาพที่ 1: ความเสียดทานของตลาด
การวิเคราะห์ความเสียดทานของตลาดในด้านธุรกรรมการเช่าพื้นที่ค้าปลีก

การเปลี่ยนแปลงของความเสียดทานอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทาน(รูปภาพที่ 2) ซึ่งในเดือนมีนาคมมีการเพิ่มขึ้นของอุปทานพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าในสิงคโปร์ มาเลเซีย และประเทศไทยโดยสิงคโปร์พบการเพิ่มขึ้นของอุปทานสูงสุดที่ 10.0% ในขณะที่เวียดนามพบการลดลงของพื้นที่ให้เช่าที่ตามที่วัดโดยดัชนีอุปทาน

ตลาดทั้งหมดแสดงให้เห็นการเพิ่มขึ้นของดัชนีอุปสงค์โดยเวียดนามพบการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของอุปสงค์ซึ่งเพิ่มขึ้น 19.6% เดือนต่อเดือนตามมาด้วยสิงคโปร์ที่เห็นอุปสงค์เติบโตอยู่ที่ 16.1% เดือนต่อเดือน ประเทศไทยเองก็มีการเติบโตของอุปสงค์อยู่ที่เลขสองหลักเดือนต่อเดือนในขณะที่การเติบโตของอุปสงค์ในมาเลเซียค่อนข้างซบเซา โดยเพิ่มขึ้นเพียง 5.8% เดือนต่อเดือน

รูปภาพที่ 2: ดัชนีอุปทานและอุปสงค์ในการเช่า
แนวโน้มอุปทานและอุปสงค์ที่ได้จากข้อมูลรายการและข้อมูลผู้เยี่ยมชมเฉพาะบนแพลตฟอร์มของพร็อพเพอร์ตี้ กูรู

รูปภาพที่ 3 ประเมินใจกลางเมืองต่างๆในสี่ตลาดและแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่น่าสนใจเมืองโฮจิมินห์และฮานอยยังคงมีความเสียดทานสูงมากเนื่องจากเป็นตลาดเจ้าของที่ดิน ในขณะที่ความเสียดทานในพื้นที่ค้าปลีกของใจกลางเมืองของมาเลเซียดูเหมือนจะค่อนข้างคงที่ในช่วงปีที่ผ่านมา

รูปที่ 3: แรงเสียดทานของตลาดในใจกลางเมือง
แนวโน้มอุปทานและอุปสงค์ที่ได้จากข้อมูลรายการทรัพย์บนแพลตฟอร์มของพร็อพเพอร์ตี้ กูรู

การวิเคราะห์อุปสงค์ของต่างชาติของเราบน DataSense (รูปภาพที่4) บ่งชี้ว่ามีสองในสี่ใจกลางเมืองของมาเลเซียที่ได้รับความสนใจจากต่างประเทศติดอันดับสูงสุดสามอันดับแรกซึ่งความสนจชใจนี้เห็นได้จากการค้นหาและการเข้าชมรายการพื้นที่ค้าปลีกให้เช่ารวมถึงการติดต่อกับนายหน้าและผู้พัฒนาอสังหานอกประเทศต้นทางความสนใจที่เพิ่มขึ้นนี้เกิดขึ้นพร้อมกับการประกาศเกี่ยวกับการดำเนินการที่ก้าวหน้าในการก่อสร้างการเชื่อมต่อทางรถไฟRapid Transit ระหว่างสิงคโปร์และยะโฮร์รวมถึงศักยภาพของการฟื้นฟูรถไฟความเร็วสูง

สิงคโปร์

แนวโน้มอุปทานและอุปสงค์ของสิงคโปร์ลดลงในช่วงปลายปี 2566 แต่พุ่งขึ้นในเดือนมีนาคม2567 (รูปภาพที่ 5) การเพิ่มขึ้นของความเสียดทานในเดือนมีนาคมดูเหมือนจะเป็นไปตามฤดูกาลเนื่องจากผู้ค้าปลีกมักจะมุ่งเน้นไปที่การขายในช่วงปลายปี ในขณะเดียวกันอุปทานก็ยังคงเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความเสียดทานคงที่

รูปภาพที่ 6 แสดงให้เห็นว่าดัชนีกลางของค่าเช่ารายเดือนสำหรับร้านค้าหรืออาคารพาณิชย์ดีขึ้นหลังจากลดลงในช่วงปลายปี2566 โดยรวมระดับค่าเช่ายังคงเสถียรแม้ว่าจะมีการผันผวนก็ตาม

เมื่อเราพิจารณาในแต่ละเขตอย่างละเอียด พบว่าเขต 20 - อังโมกิโอ/บิชาน/ทอมสันมีความเสียดทานสูงสุด โดยมีคะแนนอยู่ที่ 2.83 ความเสียดทานของตลาดพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าของเขตนี้เพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือนที่ผ่านมา

มาเลเซีย

ตลาดพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าของมาเลเซียยังคงค่อนข้างมั่นคงโดยดัชนีอุปทานอุปสงค์ผันผวนอยู่ระหว่าง -0.5% ถึง 2% ตั้งแต่เดือนกันยายน 2566 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ในเดือนมีนาคม ค่าความเสียดทานดีขึ้นเดือนต่อเดือนเนื่องจากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าอุปทาน

แม้ว่าความเสียดทานจะเพิ่มขึ้นในเดือนมีนาคม 2567 ค่ากลางของค่าเช่ารายเดือนสำหรับร้านค้าปลีกในมาเลเซียส่วนใหญ่คงที่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าอย่างไรก็ตาม ค่าเช่าเหล่านี้สูงกว่าปีที่แล้วมาก รูปภาพที่ 9 แสดงให้เห็นว่าแนวโน้มการเช่าพื้นที่ค้าปลีกยังคงเสถียรในช่วงปีที่ผ่านมา

เขตที่มีความเสียดทานในตลาดพื้นที่เช่าสูงสุดอยู่ที่เปอตาลิงรัฐเซลังงอร์ ซึ่งเพิ่มขึ้นเดือนต่อเดือนถึง 26% ในเดือนที่ผ่านมา

ประเทศไทย

ประเทศไทยมีแรงเสียดทานสูงเป็นอันดับสองสำหรับพื้นที่ค้าปลีกในสี่ตลาดในเดือนมีนาคมตลาดพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าค่อย ๆ ตึงตัวขึ้น โดยความเสียดทานในตลาดเพิ่มขึ้น 10.2% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าการปรับปรุงนี้เกิดจากการเติบโตของอุปสงค์ที่สูงขึ้นและการหดตัวของอุปทานอย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเห็นการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ในช่วงสามเดือนแรกของเดือนเมษายนแต่มันไม่สามารถชดเชยการลดลงของอุปสงค์ในเดือนก่อนหน้าได้ ทำให้ระดับความเสียดทานยังคงต่ำกว่าปีที่แล้ว

รูปภาพที่ 12: ดัชนีกลางของค่าเช่ารายเดือน

ในบรรดาเขตต่างๆ ของกรุงเทพมหานครบางกะปิมีความเสียดทานสูงสุดในตลาดพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าที่ 1.38 โดยเพิ่มขึ้นอย่างมากจากเดือนกุมภาพันธ์การเพิ่มขึ้นของความเสียดทานนี้อาจได้รับแรงหนุนจากการเปลี่ยนแปลงของเดอะมอลล์เป็นเดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์บางกะปิ(บางกอกโพสต์ - บางกะปิเปิดตัวไลฟ์สโตร์)

เวียดนาม

รูปภาพที่ 14 แสดงให้เห็นว่าความเสียดทานในตลาดพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าของเวียดนามเพิ่มขึ้นในเดือนมีนาคม2567 และสูงกว่าความเสียดทานในปีที่แล้วผู้เช่าจะพบกับสภาพแวดล้อมพื้นที่ค้าปลีกที่มีการแข่งขันสูงขึ้นเนื่องจากจำนวนรายการพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าที่ลดลงเช่นเดียวกับที่อุปสงค์ฟื้นตัวหลังจากลดลงเป็นเวลาสามเดือนซึ่งยังคงสูงกว่าระดับอุปสงค์ในปีที่แล้ว

โดยรวมแล้ว ค่าเช่ากลางต่อเดือนต่อตารางฟุตสำหรับร้านค้า/พื้นที่ให้เช่า ยังคงมีความเสถียรในแต่ละเดือน

เมื่อเราวิเคราะห์เขตใจกลางเมืองใหญ่ของเวียดนาม -ฮานอยและโฮจิมินห์ - ตามที่แสดงในรูปภาพที่ 16 เขตคอว์เจย์ในฮานอยมีค่าความเสียดทานสูงสุดในประเทศสำหรับตลาดพื้นที่ค้าปลีกให้เช่าที่13.55 คอว์เจย์ถือเป็นหนึ่งในเขตกลางของฮานอยที่เชื่อมโยงส่วนสำคัญของเมืองกับเขตนอกเมืองที่กำลังพัฒนาด้วยเขตอุตสาหกรรมใหม่และพื้นที่เมืองใหม่จำนวนมากความต้องการพื้นที่ค้าปลีกในคอว์เจย์ได้รับแรงผลักดันจากการพัฒนาและการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

พร้อมที่จะปรับนิยามกลยุทธ์ธุรกิจและการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ของคุณหรือยัง ติดต่อกับที่ปรึกษาด้านโซลูชันของเราวันนี้

ติดต่อเรา

DataSense

ค้นพบศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในธุรกิจของคุณเอาชนะความท้าทาย และตัดสินใจอย่างมั่นใจด้วย DataSense – แพลตฟอร์มข้อมูลและข้อมูลเชิงลึกอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของพร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป DataSenseมอบข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำไปใช้ต่อได้จริงจากแหล่งข้อมูลที่แม่นยำเชื่อถือได้ และทันสมัยให้กับอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์

หาข้อมูลเพิ่มเติม>